วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

ช็อกโกแลต

ประวัติ




ช็อกโกแลตถูกค้นพบมาตั้งแต่สองพันปีที่แล้ว หลังสมัยพระนางคลีโอพัตราแห่งอียิปต์ เป็นผลผลิตที่ได้จากเมล็ดของต้นคาเคา (cacao) ในป่าร้อนชื้นของทวีปอเมริกา จัดอยู่ในตระกูล Theobroma cacao แปลว่า "อาหารแห่งทวยเทพ"
ชนกลุ่มแรกที่รู้จักทำช็อกโกแลตเป็นอารยธรรมโบราณที่อยู่ในเม็กซิโก และอเมริกากลาง ชนกลุ่มนี้ได้แก่ชาวมายา และชาวแอซเทค แห่งอารยธรรมเมโสอเมริกา คนเหล่านี้เอาเมล็ดคาเคามาบดแล้วผสมกับเครื่องปรุงหลายชนิดเพื่อทำเป็นเครื่องดื่มที่มีรสขมเฝื่อน นอกจากใช้ประกอบอาหารแล้วช็อกโกแลตยังเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตเชิงศาสนาและสังคมด้วย
ชาวมายา (ค.ศ. 250-900) เป็นชนชาติแรกที่มีหลักฐานชัดเจนว่าได้ค้นพบความลับของต้นคาเคา โดยพวกเขาได้นำต้นคาเคามาจากป่าฝนและปลูกไว้ที่สวนหลังบ้าน พอออกฝักก็เก็บเอาเมล็ดมาหมักบ้าง คั่วบ้าง และยังบดเป็นเนื้อเหนียว อยากชงเป็นเครื่องดื่มก็เอามาผสมน้ำ โรยพริกไท แป้งข้าวโพด ก็จะได้เครื่องดื่มช็อกโกแลตรสซาบซ่ามีฟองฟ่อง
ต่อมาราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 อาณาจักรของชาวแอซเทคครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของอารยธรรมเมโสอเมริกา โดยมีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่เมืองปัจจุบันเรียกว่า เม็กซิโก ซิตี้ ชาวแอซเทคได้ซื้อขายเมล็ดคาเคากับชาวมายาและชนชาติอื่น และยังเรียกเก็บค่าบรรณาการจากพลเมืองของตนและเชลยเป็นเมล็ดคาเคา โดยใช้แทนค่าเงิน ชาวแอซเทคนิยมดื่มช็อกโกแลตขมเช่นเดียวกับชาวมายายุคแรก โดยปรุงรสชาติให้ซู่ซ่าขึ้นด้วยเครื่องเทศ ชาวเมโสอเมริกาสมัยนั้นยังไม่มีใครปลูกอ้อยก็เลยไม่มีใครใส่น้ำตาลกัน
เล่ากันว่า คนมายายุคคลาสสิกชอบดื่มช็อกโกแลตกันในวาระพิเศษ ขณะที่บรรดาเชื้อพระวงศ์จะนิยมดื่มกันมาก ส่วนชาวแอซเทค บรรดาผู้ปกครองระดับสูง พระ ทหารยศสูง และพ่อค้าที่มีหน้ามีตาเท่านั้นที่มีสิทธิลิ้มรสเครื่องดื่มศักดิ์สิทธิ์นี้ ช็อกโกแลตมีบทบาทสำคัญในพิธีของราชวงศ์และศาสนา เพราะใช้เมล็ดคาเคาเป็นเครื่องสักการะเทพเจ้า และดื่มในพิธีสำคัญ
สำหรับที่มาของชื่อช็อกโกแลตนั้นยังไม่มีใครอธิบายได้แจ่มชัด แต่มีความเป็นไปได้สองทาง ทางแรกเป็นคำที่ผันมาจากคำว่า "ช็อคโกลัจ" ในภาษามายา ซึ่งหมายถึง มาดื่มช็อกโกแลตด้วยกัน อีกทางหนึ่งอธิบายว่าน่าจะมาจากภาษามายาเช่นกัน คือ " chocol" แปลว่า ร้อน ผสมกับคำว่า "atl" ของแอซเทคที่แปลว่า น้ำ พอมารวมกันจึงกลายเป็นคำว่า chocolatl และมาเป็น chocolate ต่อมาในยุโรป
โดยความเชื่อของชาวแอชเต็คส์ ประเทศเม็กซิโก "เมล็ดโกโก้เป็นอาหารที่เทพเจ้ามอบให้เพื่อเป็นใบเบิกทางไปสู่สวรรค์" เมื่อประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว ซึ่งทำให้พวกเขานำเมล็ดโกโก้มาทำเป็นเครื่องดื่มนั่นก็คือ "น้ำช็อกโกแลต" ต่อมานายเออร์นัน คอร์เตช นักสำรวจชาวสเปนแล่นเรือมาพบกับชาวแอชเต็คส์ ซึ่งเขาได้อาศัยอยู่กับชาวแอชเต็คส์และร่วมดื่มน้ำช็อกโกแลตด้วยกัน และนายคอร์เตชได้นำเมล็ดโกโก้กลับประเทศเพื่อลองทำเครื่องดื่มดูบ้าง และแต่งเติมรสให้หวานขึ้นจนเป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันในสเปน จนในมี่สุด นายคอนราด เจ แวนฮูเตนท์ ชาวดัชได้ค้นพบการทำช็อกโกแลตแบบแท่ง เม็ด และผง

ช็อกโกแลตในยุโรป

ก่อนหน้าคริสต์ศตวรรษที่ 15 คนยุโรปยังไม่มีใครรู้จักเครื่องดื่มชนิดนี้ สเปนเป็นประเทศแรกที่ออกเดินทางแสวงหาความมั่งคั่งสู่ทวีปอเมริกา และได้พบกับเครื่องดื่มที่มีรสชาติอมตะของช็อกโกแลต
หลังจากสเปนมีชัยเหนือชาวแอซเทคแล้ว พวกเขาได้นำเอาช็อกโกแลตกลับประเทศด้วย และกลายเป็นที่นิยมชมชอบในราชสำนักอย่างรวดเร็ว ภายในช่วงเวลา 100 ปี ความหลงใหลที่มีต่อช็อกโกแลตได้ขยายตัวลุกลามไปทั่วยุโรป
ก่อนหน้าที่เฮอร์นาน คอร์เตส ขุนพลของสเปนจะมีชัยเหนือเม็กซิโกในปี ค.ศ. 1521 อาจเคยมีนักสำรวจยุคแรกเคยเห็นต้นคาเคาในอเมริกากันมาบ้างแล้ว แต่สเปนกลับเป็นชาติแรกของยุโรปที่ค้นพบรสชาติที่เลิศล้ำของช็อกโกแลต การติดต่อกันระหว่างชาวสเปนและชาวแอซเทคได้เปิดประตูให้สองชาติได้แลกเปลี่ยนความคิดและเทคโนโลยีแก่กัน และตลาดยุโรปก็ได้รู้จักกับอาหารชนิดใหม่อย่างจากต้นคาเคา
สงครามในปี ค.ศ. 1521 คอร์เตสนำทหารเข้าสู้รบกับทหารของมอนเตซูมาจนได้รับชัยชนะ ทหารสเปนได้บังคับให้ขุนนางชาวแอซเทคนำทรัพย์สมบัติมาให้พวกตน ถ้ายังอยากมีชีวิตอยู่ คาเคา ซึ่งถือเป็นทรัพย์ และมีค่าใช้แทนเงินตราจึงกลายมาเป็นทรัพย์ที่ยึดจากเชลยศึก ทหารสเปนได้อ้างสิทธิครอบครองไร่คาเคาของชาวแอซเทค และรีดเอาจากประชาชนที่ส่งบรรณาการให้ชาวแอซเทค ในเวลาไม่นาน คาเคาและช็อกโกแลตได้ถูกส่งไปยังสเปน
ที่สเปน เครื่องดื่มช็อกโกแลตเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็วจนไม่พอกับความต้องการ จึงต้องใช้แรงงานจำนวนนับล้านลงแรงเพาะปลูก เก็บเกี่ยว และแปรรูปน้ำตาลและคาเคา นับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 16 จนถึงปลายศตวรรษที่ 18 แรงงานส่วนใหญ่ที่มีราคาถูกแสนถูกที่ทำไร่คาเคาเป็นพวกทาส และชนกลุ่มแรกที่ถูกใช้เป็นแรงงานทาสทำช็อกโกแลตคือชาวเมโสอเมริกา
คนสเปนไม่ชอบรสชาติขมของช็อกโกแลต ทีแรกนายพลคอร์เตสกับเหล่าทหารของพวกเขาไม่ชอบรสชาติของช็อกโกแลตเลย แต่เพื่อให้ได้รสชาติถึงใจมากขึ้น พวกเขาเริ่มเอาช็อกโกแลตไปต้ม และใส่ส่วนผสมต่างๆ ลงไป
ครั้นเมื่อช็อกโกแลตเข้ามายังยุโรป มีใครบางคนเกิดไอเดียที่จะเติมน้ำตาลลงไป ใส่ชินเนมอน และเครื่องเทศลงไป ในที่สุดเครื่องดื่มช็อกโกแลตร้อนรสหอมหวานก็ถือกำเนิดขึ้นมา อย่างไรก็ดี ชาวสเปนยังคงวิธีการเตรียมและกระบวนการทำช็อกโกแลตไว้เหมือนเดิม และยังคงใช้ชาวพื้นเมืองเก็บฝักและหมัก ตาก ทำความสะอาด และคั่วเมล็ดคาเคา สเปนยังได้ประดิษฐ์เครื่องมือชนิดใหม่สำหรับใช้ทำช็อกโกแลตด้วย ซึ่งก็คือ ไม้คนที่เรียกว่า โมลินีโอ เอาไว้คนให้ช็อกโกแลตเป็นโฟมละเอียดง่ายขึ้น
เครื่องดื่มช็อกโกแลตนี้จะมีก็แต่ชาวสเปนผู้มั่งคั่ง และบาทหลวงเท่านั้นที่หาซื้อมาดื่มได้ พระสเปนได้แนะนำเครื่องดื่มช็อกโกแลตให้ราชสำนักได้ลิ้มลอง มีเรื่องเล่ากันว่า พระนิกายโดมินิกันนำคนพื้นเมืองเข้าเฝ้าเจ้าชายฟิลิปแห่งสเปน เชลยเหล่านี้ได้ปรุงเครื่องดื่มช็อกโกแลตให้เจ้าชายเสวย และในเวลาไม่นาน ชาวสำนักราชวังพากันเห่อดื่มช็อกโกแลตกันเป็นบ้าเป็นหลัง
เนื่องจากสเปนยึดครองอเมริกาเป็นอาณานิคมในยุคแรก ทำให้สเปนผูกขาดค้าขายช็อกโกแลตอยู่เพียงลำพังหลายปี จะมีก็แต่ชาวสเปนที่ร่ำรวยมหาศาลกับคนที่มีเส้นสายดีเท่านั้นที่มีเงินซื้อช็อกโกแลตที่แสนแพงนี้ได้ ชาวสเปนยอมรับว่าช็อกโกแลตช่วยให้กระปรี้กระเปร่า และมีคุณค่าทางโภชนาการ คาเคามีแคลอรีสูงตามธรรมชาติ และยังมีกาเฟอีน และสารเคมีที่มีคุณสมบัติคล้ายกันเรียกว่า ธีโอโบรไมนด้วย
ต่อมาในศตวรรษที่ 16 ช็อกโกแลตเริ่มเป็นเครื่องดื่มสำหรับพระที่ถือศีลอด และหลังจากถกเถียงกันมานาน ศาสนจักรคาทอลิกได้อนุญาตให้ประชาชนดื่มช็อกโกแลตเป็นอาหารทดแทนระหว่างถือศีลอด ซึ่งเป็นช่วงห้ามรับประทานอาหาร แต่ประเทศอื่นในยุโรปยังไม่มีโอกาสลิ้มรสช็อกโกแลตจนอีกร้อยปีต่อมา จะเป็นเพราะชาวสเปนพยายามเก็บช็อกโกแลตไว้แต่เพียงประเทศเดียวหรือไม่ และข่าวคราวเกี่ยวกับช็อกโกแลตแพร่งพรายออกไปได้อย่างไร ไม่มีใครรู้ชัด รู้กันแต่ว่าในที่สุดแล้ว ความลับเกี่ยวกับช็อกโกแลตได้แพร่งพรายออกไป และเริ่มเป็นที่นิยมในราชสำนักยุโรปอย่างรวดเร็ว และยืนยาวมาจนถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม
หลายประเทศยุโรปเริ่มนำเอาพันธุ์พืชคาเคาไปปลูกในประเทศอาณานิคม ไม่ว่าจะเป็นสหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส ต่างยึดเมืองแถบเส้นศูนย์สูตรเป็นอาณานิคม อังกฤษนำต้นคาเคามาปลูกบนเกาะซีลอน หรือศรีลังกา เนเธอร์แลนด์นำไปเพาะปลูกที่เวเนซุเอลา ชวา และสุมาตรา ส่วนฝรั่งเศสปลูกที่เวสท์อินดีส ผลผลิตจากต้นคาเคาใช้เวลาไม่นานก็สามารถออกฝักและเมล็ดส่งกลับมายังเจ้าอาณานิคมเหล่านี้จนยุโรปกลายเป็นทวีปแห่งช็อกโกแลต
ชาวยุโรปบดเมล็ดคาเคาด้วยเครื่องโม่ทำให้บดได้คราวละจำนวนมาก เริ่มจากสมัยแรกใช้ครกตำแต่ต่อมาใช้กังหันลม บ้างก็ใช้โม่ที่อาศัยแรงงานม้าหมุนเครื่องบด คนยุโรปนิยมดื่มช็อกโกแลตกับน้ำตาล ซึ่งเป็นสินค้าราคาแพงอีกชนิดที่ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ช่วงปลายศตวรรษ 1600 เซอร์ ฮันส์ สโลน จากราชวิทยาลัยแพทย์เสนอช็อกโกแลตสูตรใหม่เป็นช็อกโกแลตใส่นมที่ให้รสชาติละเมียดขึ้น
ในฝรั่งเศส ช็อกโกแลตเป็นสินค้าผูกขาด มีตำนานเล่าว่า พระราชินีแอนแห่งออสเตรียชอบดื่มช็อกโกแลตเข้าขั้นเสพติด จนราชสำนักฝรั่งเศสต้องปิดเรื่องนี้ไว้ ช็อกโกแลตเริ่มกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งชนชั้น และมีพระราชบัญญัติห้ามไม่ให้ผู้ใด ยกเว้นสมาชิกของขุนนางฝรั่งเศสเท่านั้นที่ดื่มช็อกโกแลตได้ ต่างจากอังกฤษ ใครมีเงินซื้อก็ดื่มได้
ร้านช็อกโกแลตแห่งแรกเปิดบริการในลอนดอนเมื่อปี ค.ศ. 1657 คล้ายกับร้านกาแฟ ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากกว่าในเวลาต่อมา ร้านช็อกโกแลตเป็นสถานที่ดื่มเครื่องดื่มร้อนเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ถกเรื่องการเมือง พบปะผู้คน และเล่นพนัน บางแห่งรับเฉพาะผู้ชาย แต่ก็หลายแห่งที่เปิดรับทุกเพศที่มีเงินจ่าย
ขั้นตอนการทำช็อกโกแลตไม่เปลี่ยนแปลงมาหลายร้อยปี จนกลายศตวรรษ 1700 ซึ่งเป็นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมอนาคตของช็อกโกแลตก็ถึงเวลาปฏิวัติเปลี่ยนแปลงเช่นกัน
ก่อนหน้ายุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ขั้นตอนการผลิตช็อกโกแลตต้องอาศัยแรงงานคนอย่างเดียว ซึ่งใช้เวลานาน และค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ช็อกโกแลตหาซื้อได้เฉพาะคนร่ำรวยเท่านั้น เมื่อนักประดิษฐ์ได้สร้างเครื่องจักรไอน้ำสำเร็จการผลิตช็อกโกแลตจำนวนมากด้วยเวลาที่สั้นลงทำให้เส้นทางของช็อกโกแลตไม่อยู่เฉพาะเครื่องดื่มเท่านั้นแต่ยังวิวัฒนาการกลายเป็นขนมหวานที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลกด้วย

 ชนิดของช็อกโกแลต

ช็อกโกแลตเป็นส่วนผสมที่นิยมมาก และมีให้เลือกในหลากหลายรูปแบบ รูปแบบและรสชาติของช็อกโกแลตนั้นแตกต่างกันได้โดยส่วนผสมและปริมาณของส่วนผสมในช็อกโกแลต นอกจากส่วนผสมแล้วรสชาติยังแตกต่างกันโดยระยะเวลาและอุณหภูมิของการคั่วเมล็ดโกโก้ด้วย

[แก้] ช็อกโกแลตที่ไม่ได้เพิ่มความหวาน

ช็อกโกแลตที่ไม่ได้เพิ่มความหวาน (unsweetened chocolate) คือ ช็อกโกแลตเหลวบริสุทธิ์หรือที่รู้จักกันในนาม ช็อกโกแลตฝาด ใช้ในการอบอาหาร และเป็นช็อกโกแลตที่ไม่มีการเจือปนใด ๆ ทั้งสิ้น ช็อกโกแลตชนิดนี้จะมีรสชาติเข้มข้มและลุ่มลึกของช็อกโกแลตบริสุทธิ์ แต่อย่างไรก็ดีเมื่อมีการเพิ่มน้ำตาลเข้าไป ช็อกโกแลตชนิดนี้จะใช้เป็นส่วนผสมหลักในการทำบราวนี เค้ก ลูกกวาด และคุกกี้

ช็อกโกแลตดำ

ช็อกโกแลตดำ (dark chocolate) คือช็อกโกแลตที่ไม่ได้เพิ่มนมเป็นส่วนประกอบ ซึ่งบางครั้งก็ถูกเรียกเป็นช็อกโกแลตธรรมดา แต่ว่าทางรัฐบาลสหรัฐฯ เรียกเป็นช็อกโกแลตหวาน และกำหนดให้มีส่วนผสมของช็อกโกแลตเหลวบริสุทธิ์เข้มข้น 15% แต่ทางยุโรปได้กำหนดให้มีส่วนผสมของเมล็ดโกโก้อย่างน้อย 35% ช็อกโกแลตดำมีสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ป้องกันมิให้เกิดคราบไขมันสะสมที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ สาเหตุของโรคหัวใจเลือดตีบ และช่วยป้องกันไม่ให้เกล็ดเลือดแข็งตัว สาเหตุของการอุดตันในหลอดเลือด และป้องกันความดันโลหิตสูง [1]

ช็อกโกแลตนม

ช็อกโกแลตนม (milk chocolate) คือช็อกโกแลตที่ผสมนมหรือนมข้นหวาน รัฐบาลสหรัฐฯ กำหนดว่าหากจะเรียกว่าช็อกโกแลตนม ต้องมีส่วนผสมของช็อกโกแลตเหลวบริสุทธิ์เข้มข้น 10% แต่ทางยุโรปได้กำหนดให้มีส่วนผสมของเมล็ดโกโก้อย่างน้อย 25%
ช็อกโกแลตชนิดนี้มีส่วนผสมของเนยโกโก้ (cocoa butter) นม และยังเพิ่มความหวานและรสชาติลงไปด้วย ช็อกโกแลตนมนี้ใช้สำหรับแต่งหน้าขนมได้เป็นอย่างดี ช็อกโกแลตนมที่ทำในประเทศสหรัฐฯ ต้องประกอบด้วยน้ำช็อกโกแลตอย่างน้อย 10% และนมที่ไม่ได้เอามันเนยออก 12%

Chocolate Liquor

เป็นผลผลิตจากเมล็ดโกโก้นำมาบดละเอียด แล้วนำมาคั้นเอาแต่น้ำ น้ำช็อกโกแลตนี้สามารถทำให้เย็นและทำให้แข็งตัวโดยใส่พิมพ์ไว้ แต่ช็อกโกแลตที่ได้เป็นชนิดที่ไม่หวาน น้ำช็อกโกแลตนี้จะมีส่วนผสมของโกโก้บัตเตอร์ประมาณ 53% กลมกล่อม

 ช็อกโกแลตกึ่งหวาน

ช็อกโกแลตกึ่งหวาน (semi-sweet) อยู่ในรูปของเหลวแล้วเพิ่มความหวานและใส่เนยโกโก้ลงไปด้วย สีของช็อกโกแลตชนิดนี้สีจะเข้ม ตามมาตรฐานของสหรัฐฯ จะมีส่วนผสมของน้ำช็อกโกแลตประมาณ 35% และมีไขมันประมาณ 27% ช็อกโกแลตชนิดนี้จะมีรสชาติความหวานเล็กน้อย และกลมกล่อมลิ้นอย่างมากก

 ช็อกโกแลตหวาน

ช็อกโกแลตหวาน (sweet chocolate) ช็อกโกแลตชนิดนี้จะเพิ่มความหวานลงไปมากกว่าช็อกโกแลตแบบหวานน้อย และมีส่วนผสมของน้ำช็อกโกแลตอย่างน้อย 15 % ช็อกโกแลตชนิดนี้ใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำขนมและตกแต่งขนม และยังมีไขมันเท่า ๆ กับช็อกโกแลตแบบหวานน้อย NA KA

 ช็อกโกแลตขาว

ช็อกโกแลตขาว (white chocolate) ชนิดนี้มีส่วนผสมของเนยโกโก้ แต่ไม่มีโกโก้ที่อยู่ในรูปของไขมัน แต่จะประกอบไปด้วยน้ำตาล เนยโกโก้ นมสด และใส่กลิ่นวานิลลาลงไปด้วย ช็อกโกแลตขาวนี้จะแตกหักง่าย หากเป็นของปลอมจะทำมาจากน้ำมันพืชมากกว่าเนยโกโก้

 Liquid Chocolate

เป็นช็อกโกแลตที่ไม่หวาน ส่วนใหญ่จะบรรจุขายเป็นขวด ขวดละ 1 ออนซ์ และเนื่องจากมันไม่ละลายจึงสะดวกในการใช้มาก โดยพัฒนาขึ้นมาสำหรับใช้ทำขนมอบ อย่างไรก็ดีเนื่องจากมีส่วนผสมของน้ำมันพืชมากกว่าเนยโกโก้ ซึ่งเนื้อช็อกโกแลตจะแตกต่างกัน ปกติแล้วช็อกโกแลตชนิดนี้จะมีรสไม่หวาน

กูแวร์ตูร์

ช็อกโกแลตชนิดกูแวร์ตูร์ (couverture) เป็นชนิดที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวคือจะเป็นมันเงา โดยปกติจะมีส่วนผสมของเนยโกโก้อย่างน้อยที่สุด 32% ทำให้มันสามารถคงตัวอยู่ในรูปของไขได้ดีกว่าชนิดเคลือบ ปกติแล้วจะใช้เฉพาะในร้านที่ทำขนมหวานเท่านั้น ส่วนใหญ่จะพบอยู่ในรูปของส่วนที่เคลือบอยู่ภายนอกผลไม้หรือหุ้มไส้ช็อกโกแลตอยู่ มีรสเผ็ด

 Ganache

ช็อกโกแลตชนิดนี้จะมีลักษณะข้นมาก เป็นที่นิยมนำไปทำเค้กช็อกโกแลต Ganache ทำโดยการเทวิปปิงครีมที่นำไปอุ่นลงไปในชอคโกแลตสับในปริมาณที่เท่ากัน ทิ้งไว้สักครู่จนชอคโกแลตเริ่มละลายและคนให้เข้ากัน จะได้ส่วนผสมที่ข้นขึ้น อาจเติมเนยในปริมาณเล็กน้อยเพื่อเพิ่มความเงาให้กับกานาชด้วย

 Confectionery Coating

เป็นช็อกโกแลตที่ใช้เคลือบลูกกวาด โดยนำไปผสมกับน้ำตาล นมผง น้ำมันพืช และสารปรุงแต่งรสชาติต่าง ๆ มีสีสันหลากหลาย ลูกกวาดที่ได้นี้ผงโกโก้จะมีไขมันต่ำ แต่จะไม่มีส่วนผสมของเนยโกโก้ เหมือนชนิดอื่น ๆ จึงแยกออกมาเป็นอีกประเภทหนึ่งได้

 ประโยชน์ของช็อกโกแลต

เป็นที่ยอมรับกันว่า ช็อกโกแลตเป็นอาหารที่มีสารเคมีที่ส่งผลต่อระบบประสาท เล่ากันว่า นักรักชื่อกระฉ่อนโลกอย่างจิอาโคโม คาสซาโนวา (1725-1795) กินช็อกโกแลตก่อนขึ้นเตียงกับผู้หญิงที่หลงเสน่ห์ ด้วยช็อกโกแลตขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารกระตุ้นอารมณ์ใคร่ และผู้หญิงร้อยละ 50 สารภาพว่ากินช็อกโกแลตก่อนเมคเลิฟ
ไม่นานมานี้ มีงานวิจัยที่ศึกษากับเพศชายจำนวน 8000 คนที่สำเร็จการศึกษาจากฮาร์วาร์ด พบว่า คนที่รับประทานช็อกโกแลตเป็นประจำมีอายุยืนกว่าคนที่ไม่เคยรับประทานช็อกโกแลต สาเหตุที่กินช็อกโกแลตแล้วอายุยืนอาจเกี่ยวข้องกับ สารโพลีฟีนอลที่มีอยู่จำนวนมากในช็อกโกแลต โพลีฟีนอลเป็นสารที่ช่วยลดอนุมูลอิสระของไลโปโปรตีนความแน่นต่ำ และช่วยป้องกันโรคหัวใจ แต่ความเชื่อดังกล่าวยังเป็นเรื่องถกเถียงกันอยู่
ปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองเปรียบเทียบกลุ่มที่รับประทานช็อกโกแลตเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ให้รับประทานช็อกโกแลตเทียม เพื่อทดสอบความจำพบว่า กลุ่มที่กินช็อกโกแลตสามารถจดจำคำพูดและภาพได้ดีกว่า และยังเคลื่อนไหวตอบสนองได้คล่องแคล่วกว่า ปัจจุบันนักวิจัยกำลังทดลองซ้ำเพื่อเปรียบเทียบผลอยู่
การทดลองเหล่านั้นสอดคล้องกับชีวิตของคนที่มีอายุเกินร้อยปีหลายคน ยกตัวอย่าง ฌอง คลามงต์ (1875-1997) และ ซาร่าห์ เคลาส์ (1880-1999) ทั้งสองคลั่งไคล้ช็อกโกแลตมาก คลามงต์ มีนิสัยติดกินช็อกโกแลตอาทิตย์ละสองปอนด์จนกระทั่งแพทย์ต้องแนะนำให้เธอเลิกกินเมื่ออายุได้ 119 ปี สามปีก่อนที่เธอจะลาโลกไปด้วยอายุ 122 ปี ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุยืนมักแนะนำให้กินช็อกโกแลตดำแทนขนมหวานมีแคลอรีสูงและนิยมกันมากในอเมริกา
ในอังกฤษ ช็อกโกแลตแท่งสอดใส้คานาบิสนิยมใช้กับผู้ป่วยโรค multiple sclerosis หรือโรคปลอกหุ้มเส้นประสาทอักเสบ หรือเอ็มเอส เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดกับระบบประสาทส่วนกลางแบบฉับพลัน โรคดังกล่าวมีพัฒนาการอย่างช้าๆ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางสายตา การพูด เมื่อรักษาเฉพาะอาการแล้วอาจเกิดขึ้นอีกได้ และร้ายแรงถึงขั้นอัมพาต ตาบอด และเสียชีวิต
ในช็อกโกแลตมีส่วนประกอบมากกว่า 300 ชนิดที่ต่างกัน เช่นอนันดาไมด์ และเอ็นโดจีนัส คานาบินอยด์ที่พบได้ในระบบประสาท คนที่ไม่เชื่อแย้งว่า หากกินช็อกโกแลตให้ออกฤทธิ์ต่อประสาทได้จริงคงต้องกินกันทีละหลายปอนด์มากถึงเห็นผล และกินมากๆ ยังเสี่ยงเป็นนิ่วด้วย ถึงกระนั้น มีข้อมูลน่าสนใจอยู่อย่างหนึ่งคือ สารสองชนิดของอนันดาไมด์พบอยู่ในช็อกโกแลต ซึ่งเชื่อกันว่ามีผลช่วยยืดความรู้สึกสุขสบายให้ยาวนาน
ช็อกโกแลตยังมีกาเฟอีน แต่ไม่มากนักและยังสามารถหาได้จากแหล่งอื่นที่มีมากกว่า ยิ่งไปกว่านั้น ช็อกโกแลตนมมีกาเฟอีนน้อยกว่าดื่มกาแฟชนิดกาเฟอีนต่ำเสียด้วยซ้ำ นอกจากนี้ ช็อกโกแลตมีสารทริพโทฟาน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนสำคัญ ทำหน้าที่ควบคุมเซโรโทนิน สารสื่อประสาทที่ควบคุมอารมณ์ เมื่อร่างกายขับเซโรโทนินออกมาช่วยให้ผ่อนคลายความวิตกกังวลได้
ช็อกโกแลตช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน สารที่คล้ายกับที่ได้จากฝิ่นที่ผลิตขึ้นเองในร่างกาย เมื่อร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินจะช่วยลดความเจ็บปวดได้ บางครั้งเชื่อว่า เอ็นดอร์ฟินมีส่วนช่วยให้ร่างกายอบอุ่นและสงสัยกันว่าเป็นตัวที่ทำให้คนบางคนถึงขนาดติดช็อกโกแลตงอมแงม

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

ประวัติวาเลนไทน์

วันวาเลนไทน์นั้นมีมาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมัน ในกรุงโรมสมัยก่อนนั้น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ จะเป็นวันเฉลิมฉลองของจูโนซึ่งเป็นราชินีแห่งเหล่าเทพและเทพธิดาของโรมัน ชาวโรมันรู้จักเธอในนามของเทพธิดาแห่ง อิสตรีและการแต่งงาน และในวันถัดมาคือวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ก็จะเป็นวันเริ่มต้นงานเลี้ยงของ Lupercalia การดำเนินชีวิตของเด็กหนุ่มและเด็กสาวในสมัยนั้นจะถูกแยกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประเพณี อย่างนึง ซึ่งเด็กหนุ่มสาวยังสืบทอดต่อกันมา คือ คืนก่อนวันเฉลิมฉลอง Lupercalia นั้นชื่อของเด็กสาวทุกคนจะถูกเขียนลงในเศษกระดาษเล็ก ๆ และจะใส่เอาไว้ในเหยือก เด็กหนุ่มแต่ละคนจะดึงชื่อของเด็กสาวออกจากเหยือก แล้วหลังจากนั้นก็จะจับคู่กันในงานเฉลิมฉลอง บางครั้งการจับคู่นี้ ท้ายที่สุดก็จะจบลงด้วยการที่เด็กหนุ่มและเด็กสาวทั้งสองนั้นได้ตกหลุมรักกันและแต่งงานกันในที่สุด
ในรัชสมัยของ จักรพรรดิคลอดิอัสที่ 2 (Emperor Claudius II) แห่งกรุงโรม พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีใจคอดุร้ายและทรงนิยมการทำสงครามนองเลือด ได้ทรงตระหนักว่าเหตุที่ ชายหนุ่มส่วนมากไม่ประสงค์จะเข้าร่วม ในกองทัพเนื่องจากไม่อยากจากคู่รัก และครอบครัวไป จึงทรงมีพระราชโอง การสั่งห้ามมิให้มีการจัดพิธีหมั้นและแต่งงานกันในโรมโดยเด็ดขาด ทำให้ ประชาชนทุกข์ใจเป็นอย่างยิ่ง และขณะนั้น มีนักบุญรูปหนึ่งนามว่า เซนต์วาเลนไทน์ หรือวาเลนตินัส ซึ่งอาศัยอยู่ในโรมได้ ร่วมมือกับเซนต์มาริอัสจัดพิธีแต่งงานให้กับ ชาวคริสต์หลายคู่ และด้วยความปรารถนา ดีนี้เองจึงทำให้วาเลนไทน์ถูกจับและระ หว่างนี้ก็ยังคงส่งคำอวยพรวาเลนไทน์ ของเขาเองขณะที่เขาเป็นนักโทษ เป็นความเชื่อว่าวาเลนไทน์ได้ตกหลุมรักหญิง สาวที่เป็นลูกสาวของผู้คุมที่ชื่อจูเลีย ซึ่งได้มาเยี่ยมเขาระหว่างที่ถูกคุมขัง ในคืนก่อนที่วาเลนไทน์จะสิ้นชีวิตโดยการถูกตัดศีรษะ เขาได้ส่งจดหมายฉบับ สุดท้ายถึงจูเลีย โดยลงท้ายว่า “From Your Valentine”
วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หลังจากนั้นศพของเขาได้ถูกเก็บไว้ที่โบสถ์พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม จูเลียได้ปลูกต้นอามันต์ หรืออัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุมศพของวาเลนตินัส แด่ผู้เป็นที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สีชมพูได้เป็นตัวแทนแห่งรักนิรันดรและมิตรภาพ อันสวยงาม และคำนี้ก็เป็นคำที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าเบื้องหลังความเป็นจริงของวาเลนไทน์จะเป็นตำนานที่มืดมัว แต่เรื่องราวยังคงแสดงให้เห็นถึงความรู้สึกสงสาร ความกล้าหาญและที่สำคัญที่สุดเป็นเครื่องหมายของความโรแมนติค จึงไม่น่าประหลาดใจ เลยว่าในช่วงยุคกลางวาเลนไทน์เป็นนักบุญ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในอังกฤษและฝรั่งเศส ต่อมาพระในนิกายโรมันคาทอลิกจึงเลือกให้ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันเฉลิมฉลองเทศกาลแห่งความรักและดูเหมือนว่ายัง คงเป็นธรรมเนียมที่ชายหนุ่มจะเลือกหญิงสาวที่ตนเองพึงใจในวันวาเลนไทน์ สืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้

นักบุญวาเลนไทน์

 
นักบุญวาเลนไทน์
วันนักบุญวาเลนไทน์ (Saint Valentine's Day) หรือที่เป็นที่รู้จักว่า วันวาเลนไทน์ (Valentine's Day) ตรงกับวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันประเพณีที่คู่รักบอกให้กันและกันทราบเกี่ยวกับความรักของพวกเขา โดยการส่งการ์ดวาเลนไทน์ ซึ่งโดยมากจะไม่ระบุชื่อ วันนี้เริ่มเกี่ยวข้องกับความรักแบบชู้สาวในช่วงยุค High Middle Ages เรื่องของ วันวาเลนไทน์ นี้ มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ณ กรุงโรม หรืออาณาจักรโรมัน ในยุคของจักรพรรดิคลอดิอุสที่สอง (Claudius II) โดยที่จักรพรรดิพระองค์นี้ มีนิสัยชอบกดขี่ข่มเหงผู้อื่น เขาได้สั่งให้ชาวโรมันทุกคน สักการะนับถือพระเจ้า 12 องค์ โดยผู้ที่ขัดขืนคำสั่งจะถูกทำโทษ รวมทั้งห้ามยุ่งเกี่ยวกับพวกคริสเตียนด้วย แต่นักบุณวาเลนตินุส (Valentinus) - valentine มีความเลื่อมใส ศรัทธาต่อพระคริสต์มาก เขาได้กล่าวไว้ว่า แม้กระทั่งความตายก็ไม่สามารถ เปลี่ยนความคิดของเขาได้ เขาจึงได้ถูกขังคุก
ช่วงอาทิตย์สุดท้ายในชีวิตของเขานั้นได้ มีสิ่งแปลกประหลาดเกิดขึ้น ขณะที่เขาถูกคุมขังอยู่นั้น ผู้คุมขังได้ขอให้วาเลนตินุส สอนลูกสาวเขาซึ่งตาบอดด้วย จูเลียเป็นคนสวยแต่น่าเสียดายที่เธอตาบอดตั้งแต่แรกเกิด วาเลนตินุสได้เล่าเรื่องประวัติศาสตร์ต่าง ๆ สอนเลข และเล่าเรื่องพระเจ้าให้เธอฟัง จูเลีย สามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ได้ โดยคำบอกเล่าของ วาเลนตินุส เธอเชื่อใจเขาและเธอมีความสุขมากเมื่ออยู่กับเขา
วันหนึ่งจูเลียถามวาเลนตินุสว่า “ถ้าเราอธิษฐาน พระผู้เป็นเจ้าจะได้ยินเราไหม” เขาตอบ “พระองค์เจ้า จะได้ยินเราแน่นอน ท่านได้ยินเราทุกคน” จูเลียกล่าว “ท่านทราบหรือไม่ว่า ข้าอธิษฐานขออะไรทุก ๆ เช้า ทุก ๆ เย็น...ข้าหวังว่า ข้าจะได้มองเห็นโลก เห็น ทุก ๆ อย่างที่ท่านเล่าให้ข้าฟัง” วาเลนตินุสจึงบอก “พระเจ้ามอบแต่สิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ทุกคน เพียงแค่เรามีความเชื่อมั่นในพระองค์ท่าน เท่านั้นเอง”
จูเลีย ผู้ซึ่งมีความเชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้าจึงได้คุกเข่า กุมมืออธิษฐานพร้อมกับวาเลนตินุส และในขณะนั้นเอง ก็ได้มีแสงสว่างลอดเข้ามาในคุก และสิ่งมหัศจรรย์ก็ได้เกิดขึ้น จูเลียค่อย ๆ ลืมตา แล้วเธอก็มองเห็น เขาและเธอจึงกล่าวขอบคุณต่อพระเจ้า และเรื่องมหัศจรรย์เรื่องนี้ ได้แพร่หลายไปทั่วราชอาณาจักร
ในคืนก่อนที่วาเลนตินุสจะสิ้นชีวิต โดยการถูกตัดศีรษะเขาได้ส่งจดหมายฉบับสุดท้ายถึงจูเลีย โดยลงท้ายว่า - From Your Valentine - เขาสิ้นชีพในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 หลังจากนั้น ศพของเขาได้ถูกเก็บไว้ที่โบสถ์พราซีเดส (Praxedes) ณ กรุงโรม จูเลียได้ปลูกต้นอามันต์ หรืออัลมอลต์สีชมพู ไว้ใกล้หลุมศพของวาเลนตินุส แต่ผู้เป็นที่รักของเธอ โดยในทุกวันนี้ ต้นอามันต์สีชมพูได้เป็นตัวแทนแห่งรักนิรันดร์และมิตรภาพอันสวยงาม